หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

วีธีการเพาะชำ



เตรียมดินใส่ถุง เพื่อทำการเพาะชำต้นกล้ายาง



    นำต้นกล้ายางไปเสียบไว้ในถุงที่เตรียมไว้



    หลังจากเสียบไว้ในถุงประมาณ3-4สัปดาห์ จะมีหน่องอกออกมา



    7-8 สัปดาห์ สามารถจำหน่ายได้




    วิธีการติดตายาง2


    ต้นกล้ายางก่อนทำการติดตา



    กิ่งตาพันธุ์ดี


    อุปกรณ์ในการติดตา.


    หลังจากติดตาเสร็จ 4-5 สัปดาห์ ต้นกล้ายังมีตาเขียวอยู่ เป็นอันว่า การติดตาเป็นผลสำเร็จ


    หลังจากติดตาเสร็จ 4-5 สัปดาห์ ต้นกล้ายางเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เป็นอันว่า การติดตาไม่สำเร็จ



    เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ถอนออกมาเพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้กับแปลงยางชำถุง เพื่อทำการเพาะชำต้นกล้า




    วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

    วิธีการการติดตายาง



    กรีดเปลือกไม้ให้เป็นรูปตัวที


    ลอกเปลือกไม้ออก


    ตัดเปลือกไม้ออกให้เหลือไว้ประมาณ 1 ซม.


    เลือกกิ่งตาที่มีลักษณะดี ไม่มีรอยช้ำ แล้วลอกไม้ออกให้เหลือแต่ตานำไม่ใส่ไว้ในต้นกล้าที่เราลอกเปลือกไม้ไว้


    เอาพลาสติกใสมาพันตาที่เราใสไว้ พันไปเรื่อยๆ ให้เรียบสนิท
    โครงงาน การสร้างพันธุ์ยางด้วยการติดตา
    ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
                   1.นางสาวปุณยาพร สกุลมาก         เลขที่ 37 ม.5/4
                   2.นางสาวพลอยไพลิน   เสียงแจ้ว  เลขที่ 38 ม.5/4
                   3.นางสาวสารินทร์  มงคลฤดี         เลขที่ 47 ม.5/4
                   4.นางสาวเหมสุดา  ชัยแก้ว             เลขที่ 48 ม.5/4
                   5.นางสาวชนากานต์  บำรุงทรัพย์   เลขที่ 49 ม.5/4
    ครูที่ปรึกษาโครงงาน
                   อาจารย์สุวิทย์  ดาวังปา
    ที่มาและความสำคัญ
                   การติดตายางเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชโดยการนำเอาส่วนตาหรือกิ่งพันธุ์ของพืชต้นหนึ่งไปติดเข้ากับอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตต่อไป
    ประโยชน์ที่ได้รับ
                   พันธุ์ยางที่ดี
                  การติดตายางเป็นการขยายพันธุ์ยางทางด้านการช่วยเปลี่ยนยอดต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดี ให้เป็นพันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีได้
    ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้
                   1.รู้ขั้นตอนการติดตายาง
                   2.เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการติดตายาง
    เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา
                   1.ต้นกล้ายาง
                   2. กิ่งตาเขียว
                   3. มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์หรือมีดติดตาต่อกิ่ง
                   4. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
                   5. แถบพลาสติกพันกิ่ง
                   6.ภาชนะสำหรับใส่เครื่องมือติดตา
                   7.เศษผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดต้นกล้ายาง
                   8.หินรับมีด
    วิธีการติดตายาง
                   การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ประหยัดกิ่งพันธุ์ดี  เพราะแทนที่จะใช้กิ่งพันธุ์ดีหลายตาเหมือนการต่อกิ่ง  กลับใช้กิ่งตาเขียวพันธุ์ดีเพียงตาเดียว  ซึ่งจะอยู่บนส่วนของแผ่นเปลือกไม้  ซึ่งอาจจะมีเนื้อไม้หรือไม่มีเนื้อไม้ ก็ได้ ขบวนการประสานเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นจากการติดตา  มีลักษณะเช่นเดียวกับการต่อกิ่งทุกประการ


    โครงงานการสร้างพันธุ์ยางด้วยการติดตายาง

        บทคัดย่อ

    เนื่องจากในปัจจุบันมีการทำสวนยางพารากันอย่างแพร่หลายและบางครั้งต้นยางพาราก็มีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ จึงต้องมีการคิดค้นในการเพิ่มจำนวนของต้นยางพาราเพื่อให้พอกับความต้องการของมนุษย์และยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย   วิธีการเพิ่มจำนวนของยางพาราคือการติดตายาง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ดีหรือ กิ่งพันธุ์ดี  ไปติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป และวิธีนี้ก็สามารถเพิ่มจำนวนต้นยางพาราได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาวิธีการติดตายางและนำมาเปรียบเทียบจริงในปัจจุบัน โดยศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของวิธีการติดตายาง วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเลือกหัวข้อในการทำโครงงานและนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา นำเสนอเค้าโครงงานและนำเสนอเรื่องวิธีการติดตายาง สมาชิกในกลุ่มรวบรวมข้อมูล ศึกษา จัดการดำเนินงานเป็นรูปเล่มโครงงาน                     


                                บทที่ 1                          
    บทนำ
    ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                    การติดตายางเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนของตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์พืชหรือกิ่งพันธุ์ดีไปติดกับต้นกล้ายางอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของยางเจริญเติบโตเป็นต้นยางต้นใหม่ที่มาคุณภาพดีกว่าเดิมต่อไป ส่วนต้นตอทำหน้าที่เป็นระบบรากนั้นเป็นต้นพืชที่มีความแข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตเร็ว และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตามีทั้งไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผล การติดตาเป็นการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านการช่วยเปลี่ยนต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดีให้แข็งแรง สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก เพราะกิ่งพันธุ์แต่ละกิ่งมีหลายตา นอกจากนี้ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ไม้ด้วย
    วัตถุประสงค์

                    2.1 เพื่อให้มีพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้น

                    2.2 เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์

    ขอบเขตของโครงงาน

                  ใช้ระยะเวลา 2 เดือนในการทำโครงงานชิ้นนี้ โดยระยะการทำงานได้แบ่งออกเป็นดังนี้
                     -สัปดาห์ที่ 1      ออกแบบโครงงานการติดตายาง
                     -สัปดาห์ที่ 2-3   ศึกษากระบวนการติดตายาง
                     -สัปดาห์ที่ 4-5   ออกแบบโครงสร้างของวีดีโอ
                     -สัปดาห์ที่ 6      พัฒนาวีดีโอ
                     -สัปดาห์ที่ 7      ประเมินคุณค่าของงาน
                     -สัปดาห์ที่ 8      จัดทำรายงาน
    หลักการและเทคโนโลยี
                 การนำเสนอการติดตายางเพื่อการเกษตร มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นโปรแกรม Maker เพี่อตัดต่อวีดีโอ และภาพที่ได้จากการติดตายาง สามารถนำภาพนั้นมาพัฒนาโดยใช้โปรแกรม Photoshop CS เพื่อตกแต่งภาพให้มีรายละเอียดที่คมชัดมากยิ่งขึ้น
                    ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันการติดตายางก็แพร่หลายไปทุกส่วนของภูมิภาค แต่จะพบมากในส่วนของภาคใต้ ซึ่งอาชีพหลักของคนในภาคใต้จะเป็นเกษตรกร โดยยึดรายได้หลักจากการกรีดยาง ดังนั้นวิธีการติดตายางก็สามารถแพร่หลายโดยทาง Social Network ทำให้กระบวนการติดตายางมีคนรู้จักและสามารถเพิ่มพันธุ์ให้แก่ต้นยางโดยวิธีการติดตายางอย่างแพร่หลายมากขึ้น
                                                                                                        
    วิธีการดำเนินการ
                    - ลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาดูงานในกระบวนการติดตายาง เพื่อการขยายพันธุ์ยาง
                    - เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล
                    -สมุดบันทึกเพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดในการติดตายาง
                    -กล้องถ่ายรูป
                    - สถานที่ที่จะลงพื้นที่จริงจะใช้สวนยางในอำเภอปะเหลียน จ.ตรัง และพื้นที่ใกล้เคียง
    ผลการศึกษา
                 ผลจากการศึกษาพบว่าการติดตายางนั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และให้ผลสำเร็จสูงถึงร้อยละ 95 อีกทั้งยังช่วยเกษตรกรในด้านการใช้จ่าย สามารถผลิตต้นกล้ายางได้จำนวนมากและรวดเร็ว 
    สรุปผลและข้อเสนอแนะ
                    ต้นยางที่ได้จากการติดตาเขียวสามารถเปิดกรีดได้ก่อนต้นยางที่ติดตาสีน้ำตาล และการปฏิบัติงานในแปลงกล้ายาง แปลงกิ่งตา ทำได้สะดวกรวดเร็วสามารถผลิตต้นกล้ายางได้จำนวนมากและรวดเร็ว

    บทที่ 2
    เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

    การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ดีหรือ  กิ่งพันธุ์ดี  ไปติดเข้ากับต้นกล้ายางอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตายางเจริญเติบโตเป็นต้นกล้ายางต้นใหม่ต่อไป ส่วน ต้นตอ ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบราก นั้น เป็นต้นพืชที่มีความแข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตเร็ว  ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี   พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตา มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ผล
                   การติดตาเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านการช่วยเปลี่ยนยอดต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดี ให้เป็นพันธุ์ดีได้  ทำให้พันธุ์พืชมีความแข็งแรง ต้านทานศัตรูและความแห้งแล้งได้ดี เพราะมีต้นตอที่แข็งแรง  สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก เพราะกิ่งพันธุ์แต่ละกิ่งจะมีหลายตา  นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ไม้ด้วย โดยเฉพาะการผลิตพืชแฟนซี ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตหลายอย่างในต้นเดียวกัน เช่น มะม่วงอกร่อง มะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้ ในต้นเดียวกัน  หรือไม้ดอก เช่น กุหลาบ  จะมีดอกหลายสีในต้นเดียวกัน ฯลฯ  ทั้งนี้ การติดตา สามารถ ทำได้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถนำตาจากกิ่งพันธุ์ดี จากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้ แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืช  ยาวนานกว่าการต่อกิ่ง ดังนั้นผู้ที่ทำการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตา ได้ดี ต้องมีความชำนาญและประณีตในการขยายพันธุ์

                     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตา ได้แก่

    1)  ต้นตอ หมายถึง ส่วนของต้นพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบราก หาอาหารหล่อเลี้ยงต้นพืช มี 2 ชนิด คือ
     1.1 ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด    ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน ทุเรียน มะขาม เป็นต้น   ต้นตอที่มีลักษณะดี จะต้องมีลำต้นตั้งตรง ไม่บิดคด หรือมีรอยต่อระหว่างต้นและราก เป็นแบบคอห่าน ซึ่งเกิดจากการวางเมล็ดลงเพาะผิดวิธี
    1.2 ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ  ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ      บางครั้งเรียกว่า  ต้นตอตัดชำ    ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ  เช่น  กุหลาบ  ชบา  เข็ม  โกสน  เฟื่องฟ้า  ผกากรอง  โมก   ฯลฯ    เป็นต้น    ข้อเสียของต้นตอตัดชำ  คือ  มีระบบรากตื้น แต่ถ้านำไปเป็นต้นตอสำหรับไม้ผล  จะต้องทำการเสริมราก เพิ่มขึ้น
    2) กิ่งพันธุ์ดี ตาจากกิ่งพันธุ์ดี หมายถึง ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบยอดในต้นพืช สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา
    วิธีการติดตาแบ่งออกเป็น ๔ วิธีดังนี้

    ๑. การติดตาแบบตัวที (T)
    เป็นวิธีการติดตาที่เปิดปากแผลบนต้นตอแบบตัว T สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำการติดตาแบบนี้ คือ
    -ต้นตอต้องสมบูรณ์ ลอกเปลือกไม้ง่าย ไม่เปราะหรือฉีกขาด และตาพันธุ์ดีสามารถลอกแผ่นตาออกได้ง่าย
    -ต้นตอต้องมีขนาดไม้ใหญ่โตเกินไป ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕ นิ้ว

    ๑.๑. การติดตาแบบตัวที (T-Budding)

    ๑. ทำแผลบนต้นตอ โดยเลือกตรงส่วนที่ใกล้ข้อ กรีดเปลือกไม้ขวางกิ่งหรือลำต้นทำเป็นหัวตัว T ยาวประมาณ ๑-๑.๕ เซนติเมตร ลงมาในแนวขนานกับต้นหรือกิ่ง จากนั้นใช้ปลายมีดเปิดหัวตัว T และเผยอเปลือกไม้ตามแนวยาวที่กรีดไว้

    ๒. เฉือนกิ่งตาพันธุ์ดีเป็นรูปโล่โดยให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย และเพื่อให้การติดตาได้สนิท ควรลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือก แผ่นตาโดยลอกจากด้านล่างของแผ่นตาขึ้นด้านบน

    ๓. สอดแผ่นตาพันธุ์ดีเข้าไปในเปลือกไม้รูปตัว T ให้แนบสนิทกับเนื้อไม้ของต้นตอ กรณีมีส่วนแผ่นตาพันธุ์ดีโผล่เลยหัวตัว T ให้ตัดส่วนเกินทิ้งตรงบริเวณรอยแผลหัวตัว T เดิม

    ๔. พันด้วยพลาสติกใสให้แน่น โดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบนแบบมุงหลังคา

     ๑.๒. การติดตาแบบตัวทีแปลง (Terminal Budding) เป็นวิธีการติดตาเหมือนการติดตาแบบตัว T แต่แตกต่างกันคือ วิธีนี้จะใช้สำหรับตาที่พักตัว โดยมีวิธีทำดังนี้

    ๑. เปิดปากแผลต้นตอแบบตัว T แล้วเฉือนเนื้อไม้เหนือหัวตัว T ลงมาหาแผลหัวตัว T เดิม

    ๒. เฉือนแผ่นตาพันธุ์ดีแบบรูปโล่และตัดส่วนล่างหลังแผ่นตาเป็นรูปหน้าสิ่ว

    ๓. สอดแผ่นตาเข้าไปในเปลือกไม้รูปตัว T โดยให้ตาพันธุ์ดีแนบสนิทกันพอดี

    ๔. พันด้วยพลาสติกใสให้แน่น
    ๒. การติดตาแบบเพลท หรือแบบเปิดเปลือกไม้ (Plate Budding)
    เป็นวิธีการติดตาที่คล้ายการติดตาแบบตัว T แต่ขนาดต้นตอใหญ่กว่าแบบตัว T เหมาะสำหรับพืชที่มีน้ำยาง เช่น ยางพารา ขนุน หรือพืชที่สร้างรอยประสานช้า เช่น มะขาม และที่สำคัญคือ ต้นตอและตาพันธุ์ดีต้องลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกได้ง่าย
    วิธีการทำแผลบนต้นตอ
    ๑. การทำแผลรูปเข็มเย็บกระดาษ (Plate Budding) โดยกรีดเปลือกไม้เป็นแนวยาวขนานกับลำต้นหรือกิ่งต้นตอ ๒ แนว ห่างกันประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร จากนั้นตัดรอยขนานด้านบนแบบรูปเข็มเย็บกระดาษคว่ำเผยอเปลือกไม้ แล้วตัดเปลือกไม้ออกประมาณ ๒/๓ ของความยาวแผล
    ๒. การทำแผลแบบตัว H หรือสะพานเปิด (H Budding) เป็นวิธีการทำแผลเป็นรูปคล้ายสะพานเปิดโดยการกรีดเปลือกไม้เป็นแนวขนานกับลำต้น ๒ แนว แล้วกรีดตรงกลางขวางรอยแนวกรีดขนาน เผยอเปลือกไม้ด้านบนขึ้นและส่วนด้านล่างของแผลเผยอลงคล้ายสะพานเปิด
    ๓. การทำแผลแบบเปิดหน้าต่าง ๒ บาน (I Budding) โดยกรีดเปลือกไม้ตามแนวยาวของลำต้น ๑ แนว แล้วกรีดขวางลำต้น ๒ แนว ทั้งด้านบนและด้านล่าง แล้วเผยอเปลือกไม้ออกทางด้านข้างคล้ายการเปิดหน้าต่าง
    ๔. การทำแผลเป็นรูปจะงอยปากนก (Triangle Budding) โดยกรีดเปลือกไม้ขนานไปตามความยาวของลำต้นหรือต้นตอโดยให้ส่วนล่างของแผลเรียวเข้าหากันเป็นรูปปากนก แล้วเผยอปากแผลจากด้านล่างคล้ายปากนกขึ้น ตัดเปลือกทิ้ง ๒/๓ ของความยาวรอยแผล
    ๓. การติดตาแบบแพทซ์ หรือแผ่นปะ (Patch Budding)
    เป็นการติดตาอีกแบบหนึ่งโดยนำแผ่นตาพันธุ์ดีปะไปบนรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้เป็นรูปต่าง ๆ นิยมใช้กับพืชที่เกิดรอยประสานเร็วและไม่มีน้ำยาง เช่น ต้นลูกเนยและชบา เป็นต้น

    ๓.๑. การติดตาแบบแผ่นปะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Patch Budding)

    ๑. เตรียมแผลบนต้นตอโดยการกรีดเปลือกไม้บนต้นตอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วลอกเปลือกไม้ออก

    ๒. กรีดและลอกแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเท่ากับแผลบนต้นตอ

    ๓. นำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอ โดยเอาส่วนตาหงายขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

    ๓.๒. การติดตาแบบวงแหวนแปลง (Flute Budding)

    ๑. เตรียมแผลบนต้นตอเป็นแบบวงแหวน แต่ให้เปลือกไม้ไว้เป็นสะพานเชื่อมโยงรอยแผลที่ควั่นทั้ง ๒ ด้าน ขนาด ๑/๕ ของเส้นรอบวง

    ๒. เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีในลักษณะวงแหวนเท่ากับแผลของต้นตอ

    ๓. นำแผ่นตาที่ได้ไปปะลงบนแผลของต้นตอแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

    ๓.๓. การติดตาแบบลอกเปลือกแบบรูปโล่ (Skin Budding)

    ๑. เตรียมแผลบนต้นตอแบบรูปโล่ แต่ไม่ติดเนื้อไม้แล้วลอกเปลือกไม้ออก

    ๒. เตรียมแผ่นตาเป็นรูปโล่ขนาดเท่ากับรอบแผลบนต้นตอและลอกเนื้อไม้ทิ้ง

    ๓. นำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
    ๔. การติดตาแบบชิปหรือไม่ลอกเนื้อไม้ (Chip Budding)
    วิธีการติดตาแบบนี้นิยมใช้กับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกยากหรือเปลือกไม้บางและเปราะ ขนาดต้นตอประมาณ ๐.๕ นิ้ว เหมาะสำหรับการติดตาองุ่น เงาะ และไม้ผลอื่นที่ลอกเปลือกไม้ยาก
    ๔.๑. วิธีการติดตาแบบชิบ (Chip Budding)
    เตรียมแผลต้นตอโดยการเฉือนเนื้อไม้และทำบ่าด้านบนและด้านล่างของปากแผลในลักษณะบ่าเอียงเข้าหากัน เฉือนแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดที่สามารถสอดเข้ารอยแผลของต้นตอได้ สอดแผ่นตาเข้าไปในรอยแผลของต้นตอทางแนวด้านข้าง และจัดให้แผ่นตารับกับรอยบ่าที่ทำไว้ให้สนิท แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

    ๔.๒. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๑ (Modified Chip Budding I)

    ๑. เตรียมแผลต้นตอโดยการเฉือนเนื้อไม้เป็นรูปโล่ และทำบ่าที่ด้านล่างของรอยแผล

    ๒. เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีแบบรูปโล่โดยตัดหลังปากแผลด้านล่างเป็นรูปหน้าสิ่วสำหรับที่จะสอดแผ่นตาเข้าไปรับบ่าของรอยแผลบนต้นตอได้ผลดี

    ๓. สอดแผ่นตาจากด้านบนลงด้านล่างให้เข้ากันสนิท แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

    ๔.๓. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๒ (Modified Chip Budding II)

    ๑. เตรียมแผลบนต้นตอเหมือนวิธีที่ ๑ เพียงแต่เฉือนปากแผลส่วนบนขึ้นไปเข้าเนื้อไม้

    ๒. เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีแบบวิธีติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๑

    ๓. สอดแผ่นตาเข้าไปขัดในร่องบ่าด้านล่างและให้ปลายแผ่นตาด้านบนเข้าตรงรอยผ่าของปากแผลด้านบนพอดี แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

    ๔.๔. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๓ (Modified chip Budding III)

    ๑. เตรียมแผลต้นตอเหมือนวิธีที่ ๑ เพียงแต่เฉือนบ่าลึกเข้าเนื้อไม้ในแนวขนานกับลำต้น

    ๒. เตรียมแผ่นตาพันธุ์แบบชิปแปลงวิธีที่ ๑

    ๓. สอดแผ่นตาพันธุ์ดีเข้าตรงรอยผ่าจากบ่าลงไปในเนื้อไม้บนต้นตอ แล้วพันพลาสติกให้แน่น คำอธิบาย: http://web.ku.ac.th/nk40/nk/spacer.gif
             พันธุ์ยาง RRIT251
    ลักษณะประจำพันธุ์คำอธิบาย: http://web.ku.ac.th/nk40/nk/image/spacer.gif
    ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีสีเขียว ฉัตรใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อนลำต้นคดแต่จะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น แตกกิ่งมากทั้งกิ่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม ผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
    ลักษณะทางการเกษตร
    ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ขนาดลำต้น ทั้งแปลงมีความสม่ำเสมอดีทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก เปลือกเดิม และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง พื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57 พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 5 ปีกรีด เฉลี่ย 333 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59 ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ค่อนข้างต้านทานโรคเส้นดำ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
    ลักษณะดีเด่น
    ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงมาก ขนาดลำต้นมีความสม่ำเสมอทั้งแปลง เปิดกรีดได้เร็วมีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก มีความต้านทานโรค และน้ำยางมีสมบัติเหมาะสมต่อการแปรรูปทางอุตสาหกรรม
    ข้อสังเกต
    ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ในระยะยางอ่อนจะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดนูน ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก
    ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำ
    ใต้ดินสูง
      
    บทที่ 3
    วิธีการดำเนินการ

                     การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น ต้นตอ   ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้

    (1) เจริญเติบโตเร็ว ปราศจากโรคและแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี 

    (2) ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งด้วยวิธีเพาะเมล็ด ตัดชำหรือตอนกิ่ง 

    (3) สามารถเชื่อมต่อกับกิ่งพันธุ์ดีต่าง ๆ ได้มาก 

    (4) หาเมล็ดหรือต้นได้ง่าย 
    (5) เป็นพืชที่มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด

                     การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น กิ่งพันธุ์ดี   ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้

    (1) เป็นกิ่งที่มีตาแข็งแรง  ไม่ว่าจะเป็นตายอดหรือตาข้าง

    (2) ควรเลือกจากกิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง

    (3) เป็นกิ่งที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง  โดยสังเกตจากข้อ ที่ไม่ถี่หรือห่างเกินไป

    (4) ตาของกิ่งพอเหมาะ  คือ มีขนาดพอประมาณเท่าดินสอดำ
    (5) เป็นกิ่งที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรง  สมบูรณ์ ไม่มีโรค
    (6) ถ้าเป็นกิ่งแก่  ควรมีอายุไม่เกิน  1  ปี  เพราะถ้าอายุมากเกินไป ตาที่ติดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
                     เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา

    1 . ต้นกล้ายาง
    2. กิ่งตาเขียว

    3. มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์หรือมีดติดตาต่อกิ่ง

    4. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง

    5. แถบพลาสติกพันกิ่ง
    6.ภาชนะสำหรับใส่เครื่องมือติดตา
    7.เศษผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดต้นกล้ายาง
    8.หินลับมีด

                        วิธีการติดตา

    1. ใช้เศษผ้าทำความสะอาดบริเวณโคนต้น เพื่อให้เศษดินที่ติดอยู่หลุดออกไป

    2. ใช้ปลายมีดกรีดเปลือกต้นตอในแนวดิ่ง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ซ.ม. รอยกรีดยาวประมาณ 5-7 ซ.ม. โดยให้รอยกรีดด้านล่างชิดพื้นดินมากที่สุด

    3. ตัดขวางรอยกรีดทั้งสองที่ปลายด้านบนให้ต่อถึงกัน แล้วค่อยๆลอกเปลือกที่ตัดออกเบาๆ ลงมาข้างล่างจนสุดรอยกรีด ตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือลิ้นยาวประมาณ 1-1.5 .ม.
    4. ทำความสะอาดกิ่งตาแล้วใช้ใบมีดคมๆ เฉือนกิ่งตา เริ่มจากปลายกิ่งไปหาโคนกิ่งให้ติดเนื้อบางๆ และสม่ำเสมอความกว้างไม่น้อยกว่า 0.9 ซ.ม.ยาวประมาณ 7-8 ซ.ม.

    5. แต่งริมแผ่นตาทั้งสองข้างให้เล็กกว่ารอยแผลที่เปิดไว้เล็กน้อย
    6. ค่อยๆ ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้จับแผ่นตาให้แน่น (อาจใช้มือหรือปาก) พยายามไม่ให้แผ่นตาโค้งหรืองอ เพราะจะทำให้แผ่นตาช้ำ
    7. ตัดบริเวณส่วนโคนของแผ่นตาออกเล็กน้อยรีบสอดแผ่นตาลงในแผลบนต้นตอที่เตรียมไว้โดยสอดลงไปในลิ้นตรวจดูแผ่นตาที่สอดลงไปจะต้องให้ตาอยู่เหนือก้านใบและอยู่ตรงกลางรอยแผลด้วย

    8. ใช้พลาสติกใสพันทับจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน การพันจะต้องให้ส่วนของพลาสติกซ้อนทับกัน พันขึ้นจนเกือบถึงรอยแผลด้านบน ใช้มีดตัดแผ่นตาส่วนที่เกินจากรอยแผลทิ้ง โดยให้ต่ำกว่ารอยแผลด้านบนเล็กน้อย จากนั้นพันพลาสติกต่อไปจนเลยรอยแผลประมาณ 2-3 รอบ จึงทำเงื่อนผูกแล้วดึงให้แน่น

                  การตรวจผลการติดตา
    1. หลังจากติดตาแล้ว 3 สัปดาห์ให้ทำการตรวจดูผลถ้าแผ่นตายังคงมีสีเขียงอยู่แสดงว่าการติดตาเป็นผลสำเร็จ
    2. ใช้ปลายมีดที่คมกรีดลงบนพลาสติกด้านตรงกันข้ามกับตาที่ติดไว้แล้วดึงพลาสติกออก (ในท้องที่แห้งแล้งซึ่งความชื้นสัมพัทธ์ไม่แนะนำให้กรีดพลาสติกออก่อน จนกว่าจะเห็นตาเริ่มผลิ จึงค่อยกรีดพลาสติกออก)
    3. ต้นที่มีแผ่นตาสีคล้ำแสดงว่าติดตาไม่สำเร็จใช้มีดกรีดบนพลาสติกด้านแผ่นตา และสามารถติดตาใหม่ได้บนด้านตรงกันข้ามอีกครั้งหนึ่ง

                  การนำต้นตอตาไปใช้ประโยชน์

    1. หลังจากกรีดพลาสติกออกควรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนตัดยอด
    2. ตัดยอดต้นตอตาเหนือรอยที่ติดตาขึ้นไปประมาณ 5 ซ.ม.
    3. ให้รอยตัดลาดเอียงลงทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา
    4. ถ้าตัดยอดในแปลงปลูก ตาจะแตกออกมาภายใน 15-30 วัน
    5. ถ้าถอนต้นกล้าไปปลูกที่อื่นตาจะแตกออกมากภายใน 1-2 เดือน

                  ข้อระวังในการติดตาเขียว

    1. มีดต้องคมอยู่เสมอ
    2. ต้นกล้าและกิ่งตาจะต้องสมบูรณ์
    3. หลีกเลี่ยงการติดตาในระหว่างฝนตก
    4. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเร็วและความชำนาญของผู้ติดตา
    5. แสงแดดมีผลต่อความสำเร็จในการติดตาเขียวจึงต้องใช้พลาสติกใสพัน
    6. อย่าใช้แผ่นตาช้ำ ตากุ้ง ตาบริเวณกลุ่มใบที่ไม่มีไข่ตา แผ่นตาสกปรกและแห้ง
    7. พันแผ่นตาให้แน่น
    8. อย่าติดตาในเวลาอากาศร้อนจัด
                  
                 ต้นตอตายางที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติดังนี้
    1. รากแก้วสมบูรณ์มีรากเดียวลักษณะตรงเปลือกหุ้มรากไม่เสียหาย
    2. ความยาวของรากจากโคนคอดินไม่น้อยกว่า 20 ซ.ม.
    3. ต้นตอยางมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ตาระหว่าง 0.9-2.5 ซ.ม.
    4. ความยาวของลำต้นจากโคนคอดินถึงตาไม่เกิน 10 ซ.ม.และจากตาถึงรอยตัดลำต้นไม่น้อยกว่า 8 ซ.ม.
    5. แผ่นตาเขียวมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.9 ซ.ม. สภาพตาสมบรูณ์แนบสนิทกับต้นตอไม่เป็นสีเหลืองหรือรอยแห้งเสียหายตำแหน่งของตาต้องไม่กลับหัวและควรเลือกใช้ตาก้านใบ
    6. แผ่นตาที่นำมาติดได้จากแปลงกิ่งตายางที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
    7. ต้นตอยางต้องสดสมบรูณ์ ปราศจากโรคและศัตรูพืช


    บทที่ 4
    ผลการดำเนินการ

                   การตรวจผลการติดตา

    1. หลังจากติดตาแล้ว 3 สัปดาห์ให้ทำการตรวจดูผลถ้าแผ่นตายังคงมีสีเขียวอยู่แสดงว่าการติดตาเป็นผลสำเร็จ

    2. ใช้ปลายมีดที่คมกรีดลงบนพลาสติกด้านตรงกันข้ามกับตาที่ติดไว้แล้วดึงพลาสติกออก (ในท้องที่แห้งแล้งซึ่งความชื้นสัมพัทธ์ไม่แนะนำให้กรีดพลาสติกออกก่อน จนกว่าจะเห็นตาเริ่มผลิ จึงค่อยกรีดพลาสติกออก)

    3. ต้นที่มีแผ่นตาสีคล้ำแสดงว่าติดตาไม่สำเร็จใช้มีดกรีดบนพลาสติกด้านแผ่นตา และสามารถติดตาใหม่ได้บนด้านตรงกันข้ามอีกครั้งหนึ่ง

                  ข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดตาที่ได้ผลดี   มีดังนี้
    1) ตาต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญเติบโต และอยู่ในระยะพักตัว คือช่วงฤดูหนาว และสังเกต ตาจะนูนออกมาคล้ายๆ กับตาที่กำลังจะแตกยอดใหม่
    2) ต้นตอต้องอยู่ในช่วงที่ไม่พักตัวคือ เป็นช่วงที่กำลังเจริญเติบโต เนื้อเยื่อเจริญกำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว สังเกตจากเวลาใช้มีดกรีดเปลือกไม้จะมีน้ำยางไหลออกมา
    3) รอยแผลที่เฉือนแผ่นตาจะต้องเรียบ แผ่นตาไม่ช้ำและฉีกขาด
    4) การพันพลาสติก ควรพันให้แน่นและปิดรอยแผลไม่ให้น้ำเข้าได้ เพราะถ้าหากน้ำเข้าไปที่แผลติดตา จะทำให้ตาของพืชเน่าตายได้
    5) ตาที่ติดนั้นจะต้องทำให้เนื้อเยื่อเจริญสัมผัสกับต้นตอมากที่สุดและไม่ให้ถูกแดดจัดส่องตลอดเวลา เพราะจะทำให้ตาเหี่ยวและแห้งตาย
    6) มีดและมือจะต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคหากเชื้อโรคเข้าแผล อาจทำให้แผลเน่าและตาไม่ติดและเน่าตายได้
      
    บทที่ 5
    สรุปผลและข้อเสนอแนะ

    สรุปผลการทดลอง

    จากการศึกษาวิธีการติดตายางด้วยการลงปฏิบัติพื้นที่จริงจะเห็นได้ว่าการติดตายางส่วนใหญ่มักจะเน้นกิ่งตาพันธุ์ที่ดีที่ทนต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ดีและสามารถเป็นธุรกิจในการประกอบอาชีพของคนส่วนใหญ่ได้อีกด้วย  จึงสรุปผลการประเมินวิธีการติดตายางสามารถเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรแล้วยังสามารถเพิ่มรายได้และประหยัดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    - สามารถศึกษาเรื่องวิธีการติดตายางผ่าน Network
    - คณะผู้จัดทำสามารถถ่ายทอดถึงวิธีการติดตายางด้วยสื่อเทคโนโลยีต่างๆได้
     คำอธิบาย: http://web.ku.ac.th/nk40/nk/image/spacer.gif
    ข้อเสนอแนะ 
    ควรจัดให้มีนิทรรศการเน้นถึงเรื่องของการเกษตรเข้ามาในโรงเรียนเพื่อปลูกฝังให้มีจิตใจรักต้นไม้และทั้งนี้เน้นถึงอาชีพหลักของคนในภาคใต้เรื่องของการกรีดยางพาราและตระหนักถึงคุณค่าของยางพาราและวิธีการปลูกยางพาราให้มากกว่านี้

    บรรณานุกรม
    - จดบันทึกจากการสอบถามของนายกิตติศักดิ์  เสียงแจ้ว
    -อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร